วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

Week 17

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 17 เวลาเรียน 09.00-12.40 น
 
เนื้อหาที่เรียน :
       แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
•คัดแยกเด็กพิเศษ
•ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
•ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
•เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
•แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
•ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
•ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
•การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
•เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
•ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
•วิธีการประเมินผล
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล ได้มาจาก รายงานทางการแพทย์ รายงานการประเมินด้านต่างๆ และบันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน โดยจะต้องมีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม และจะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายระยะยาว (กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง) เช่น
- น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
- น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
- น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น (ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก)
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
•เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
•นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
•แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
•จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4. การประเมินผล 
•โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
•ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**

แผนผังขั้นตอนการจัดทำแผน IEP
ตัวอย่างแผน IEP
กิจกรรมสอบร้องเพลง : โดยดิฉันจับได้เพลง นกเขาขัน ลงฟังกันดูนะค่ะ (ขอขอบคุณทุกคำติชมค่ะ)
          บรรยายกาศของกรเรียนการสอนวันสุดท้ายที่แสนอบอุ่น ที่เต็มไปด้วยเสียหัวเราะและรอยยิ้มของทุกคน ขอขอบคุณช่วงเวลาดีๆขอบคุณพรมลิขิตที่ทำให้พวกเรามาเจอกัน และที่สำคัญขอขอบคุณอาจารย์เบียร์ที่ค่อยอบรมสั่งสอนและมอบประสบการณ์ดีๆให้กับพวกเราค่ะ
 การประยุกต์ใช้ : นำตัวอย่างแผน IEPไปปรับใช้เมื่อได้สอนจริงๆและในสถานการณ์ที่มีเด็กเรียนรวม และเทคนิคการลองเพลงหลังจากที่ได้เห็นเพื่อนๆทุกคนได้แสดงความสามารถด้านการร้องเพลงทำให้รูว่าคีย์และจังหวะเพลงมีมากมายหลากหลายที่เราสามารถนำไปใช้ได้แต่ต้องเลือกให้เหมาะกับสถานการณ์นั้นๆค่ะ5555(วันนี้เฮฮาจริงๆ)
การประเมินผล :
  • ตนเอง : วันนี้มีความมั่นใจในการร้องเพลงดี เนื่องจากได้มีการฝึกร้องตั้งแต่เมื่อวานจึงส่งผลให้การสอบร้องเพลงในวันนี้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ส่วนในเรื่องการเขียนแผน IEP ก็สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายถือว่าการเรียนในวันนี้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนค่ะ
  • เพื่อน : ทุกคนมีบุคคลิกที่แตกต่าง จุดเด่น จุดอ่อนที่ต่างกันไปแต่พอพวกเรามาเรียนรวมกันถือว่าลงตัวค่ะ
  • อาจารย์ : หลังจากที่ได้เรียนวิชาการศึกษาแบบเรียนรวมกับอาจารย์เบียร์มาเป็นเวลา 1 เทอมซึ่งเวลาช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วความรู้หนูได้รับจากอาจารย์มากมายเกินจะบรรยายแต่สิ่งที่หนูประทับใจในตัวอาจารย์คือประสบการณ์ดีๆที่อาจจารยืค่อยแนะนำ และอาจารย์ไม่เคยทิ้งพวกเราเลยไม่ว่าจะมีเรื่องหรือปัญหาอะไรอาจารย์จะค่อยให้คำแนะนำและช่วยเหลือเสมอ อาจารย์ถือเป็นบุคคลที่สำคัญสำหรับสาขาการศึกษาปฐมวัยคนหนึ่ง และเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับพวกหนูเสมอค่ะ

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

Week 16

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน 12.20-15.50 น
 
ขั้นนำ : อาจารย์เฉลยข้อสอบ
กิจกรรม : ดิ่งพสุธา
กิจกรรมนี้สามารถสื่อความหมายถึงการปลอดปล่อยพลังงานทางร่างกายของมนุษย์
เนื้อหาที่เรียน 
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
1.1 เป้าหมาย :เป็นการช่วยให้เด็กแต่ละคนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กรู้สึกมั่นใจว่าเขาทำได้  ให้รู้สึกดีต่อตนเอง อีกทั้งยังพัฒนาความกระตือรือร้นของเด็กอีกด้วย
1.2 ช่วงความสนใจ : เพื่อให้เด็กจดจ่อต่อกิจกรรมที่ทำโดยช่วงความสนใจของเด็ก

  • นักศึกษาในระดับปริญญาตรีมีช่วงความสนใจในการเรียนรู้ประมาณ 2 ชม.
  • เด็กอนุบาลมีช่วงความสนใจในการเรียนประมาณ 10-15 นาที
  • เด็กพิเศษมีช่วงความสนใจประมาณ 3-5นาที
1.3 การเลียนแบบ : โดยเด็กจะเลียนแบบจากบุคคลใกล้ๆตัว เช่น เพื่อน ครู ผู้ปกครอง เป็นต้น โดยเฉพาะเด็กพิเศษจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีคือ การเลียนแบบ
1.4 การทำตามคำสั่งคำแนะนำ : ในบางครั้งเด็กอาจจะไม่เข้าใจคำสั่งของครู หรือคำสั่งอาจจะยากเกินไป ดังนั้ครูควรใช้คำศัพท์ที่ง่ายๆ กระชับ เข้าใจง่าย
1.5 การรับรู้และการเคลื่อนไหว : โดยปกติมนุษย์เราจะมีการรับรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยการได้ยิ่น เห็น สัมผัส ลิ้มรส และการดมกลิ่น และจะส่งผลให้เกิดการตอบสนองอย่างเหมาะสม แต่เด็กพิเศษจะมีประสาทสัมผัสที่ล่าช้าในบางครั้งจึงส่งผลให้เด็กเกิดการตอบสนองที่ล่าช้าตามมา
1.6 การควบคุมกล้ามเนื้อ เช่น การกรอกน้ำ ต่อบล็อก การช่วยเหลือตนเองในกิจกรรมต่างๆ
การเลือกกรรไกรที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ควรเป็นกรรไกรที่ขนาดเหมาะสมดังภาพที่ 1 จับง่ายสบายมือ
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

          แบบรูป เด็กจะเริ่มปฏิบัติกิจกรรมนี้ได้ต้องอยู่ในช่วงอายุ 4 ขวบหากเป็นเด็กพิเศษจะยังไม่สามารถทำได้ ดังนั้นการที่จะให้น้องวางต้องให้น้องเริ่มด้วยการรู้จักวางทีละคนต่อๆกันไปเลื่อยๆ เพื่อเป็นการฝึกน้อง หากเด็กหยิบไม่ได้ครูควรเป็นผู้ชี้นำน้องในการหยิบรูปทรง เช่น วงกลมสีฟ้าๆ อันนี้ใช่ไหมค่ะ อันนี้ใช่ไหม เป็นต้น

1.7 ความจำ  ในเรื่องของความจำครูสามารถสอบถามจากสิ่งที่เด็กเคยผ่านมา หรือการสอบถามประสบการณ์เดิมของเด็ก เช่น เมื่อเช้าหนูทานอะไรมาค่ะ แกงจืดที่เราทานตอนเที่ยงมีอะไรบ้าง
1.8 ทักษะทางคณะศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 
       การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นครูหรือผู้เกี่ยวข้องควรทราบว่ามีทักษะจำเป็นอะไรบ้างที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กต่อไป ทักษะที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนานั้นอาจแบ่งเป็น ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่
1. ทักษะการสังเกต(Observation)
คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป
2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)
คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้(ดังนั้นครุควรถามเมื่อจัดกิจกรรมทั้งนี้เพื่อให้ประเมินเด็กได้อย่างถูกต้อง) ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง เมื่อเด็กสามารถสร้างความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความสัมพันธ์แล้วเด็กจึงจะจำแนกโดยใช้ความสัมพันธ์ร่วมได้
3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)
คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง นั่นแสดงให้เห็นว่า เด็กเห็นความสัมพันธ์ของลูกบอล คือ เล็ก - ใหญ่ ความสำคัญในการเปรียบเทียบ คือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ การเปรียบเทียบนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนในเรื่องการวัดและการจัดลำดับ
4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)
คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม การจัดลำดับในครั้งแรก ๆ ของเด็กปฐมวัยจะเป็นไปในลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง เมื่อเกิดการพัฒนาจนเกิความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเด็กจึงจะสามารถจัดลำดับที่ยากยิ่งขึ้นได้
5. ทักษะการวัด(Measurement)
เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม
6. ทักษะการนับ(Counting)
แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การนับจำนวนเพื่อนในห้องเรียน นับขนมที่อยู่ในมือ แต่การนับของเด็กอาจสับสนได้หากมีการจัดเรียงสิ่งของเสียใหม่ เมื่อเด็กเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์(จำนวน)แล้วเด็กปฐมวัยจึงจะสามารถเข้าใจเรื่องการนับจำนวนอย่างมีความหมาย
7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน เราจึงมักจะได้ยินเด็กพูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรูปทรงหรือขนาดอยู่เสมอ ครูสามารถทดสอบว่าเด็กรู้จักรูปทรงหรือไม่ได้โดยการให้เด็กหยิบ/เลือก สิ่งของตามคำบอก เมื่อเด็กรูปจักรูปทรงพื้นฐานแล้วครูสามารถสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงที่ยากขึ้นได้
ทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ สำหรับเด็กปฐมวัยอาจแบ่งได้ 3 ทักษะ
1. ทักษะในการจัดหมู่
2. ทักษะในการรวมหมู่(การเพิ่ม)
3. ทักษะในการแยกหมู่(การลด)
จากภาพนี้ เราสามารถสอนในเรื่องมิติสัมพันธ์ คือ สอนให้เด็กรู้จักข้างใน ข้างนอก ด้านบน ด้านล่าง ความสูง-ต่ำ 
1.9 การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ : เน้นสำคัญในเรื่องการสั่งงานหรือให้งานเด็กแต่ละคนต้องบอกให้ชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน พูดในทางที่ดี และควรจัดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวจะส่งผลให้เด็กเกิดความสนุกสนานในการเรียน
การประยุกต์ใช้ :จากกิจกรรมและเนื้อหาในวันนี้ทำให้เข้าใจถึงบริบทและพฤติกรรมของเด็กพิเศษมากยิ่งขึ้น และส่งผลให้เมื่อไปเจอเด็กพิเศษจริงๆจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กได้
การประเมินผล :
  • ตนเอง : ในการมาเรียนวันนี้มีการมานั่งเตรียมความพร้อมก่อนการเรียน และช่วยเพื่อนทุกคนจัดชั้นเรียนเพื่อเตรียมก่อนที่จะทำการเรียนการสอน แต่บรรยายกาศในวันนี้รู้สึกร้อนและหงุดหงิดเป็นอย่างมากเนื่องจากสถานที่ไม่ค่อยเอื้อต่อการเรียนรู้สักเท่าไร แต่การเรียนในวันนี้ก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี เนื่องจากอาจารย์มีกิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาได้เล่นจนลืมความร้อนในต้นคาบไปเลย
  • เพื่อน : เพื่อนๆทุกคนให้ความสนใจในการเรียนแต่อยู่ในระดับปานกลางอาจเนื่องมาจากบรรยายกาศร้อนเกินไป แต่ทุกคนก็ต้องใจเรียนแม้ในบางช่วงอาจไม่ค่อยมีสติและสมาธิสั้นไปบ้าง
  • อาจารย์ : อาจารย์แต่งกายสุภาพ เดินมาสอนด้วยความเหนื่อยเหงื่อเต็มตัว แต่อาจารย์ก็มีความตั้งใจที่จะสอนนักศึกษาโดยมีเทคนิคการสอนคือ ในขั้นนำมีการเฉลยข้อสอบและขั้นด้วยกิจกรรม จากนั้นต่อด้วยเนื้อหาใน Powerpoint การเรียนการสอนในวันนี้สอนอย่างรวดเร็วเข้าใจชัดเจน

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

Week 15

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 12.20-15.50 น.
หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับเทศกาลวันสงกรานต์ 13-15 เมษายน พ.ศ.2558

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

Week 14

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 12.20-15.50 น.

หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับวันจักรี

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

Week 13

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 12.20-15.50 น.

หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากท่านอาจารย์สระเวลา
ให้นักศึกษาไปเรียนชดเชยรายวิชาศิลปะสร้างสรรค์ 

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

Week 12

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 12.20-15.50 น


หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการสอบเก็บคะแนนทั้งสิ้น 10 คะแนน

           ความรู้สึกในการทำข้อสอบวันนี้ รู้สึกเข้าใจแต่อธิบายเป็นคำพูดไม่ค่อยเป็นเป็นทางการ และสื่อความหมายไม่ค่อยชัดเจนแต่ก็ขอให้อาจารย์เข้าใจและขอให้ตรงกับความคิดของอาจารย์ด้วยค่ะ

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

Week 11

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 12.20-15.50 น
กิจกรรม :ฝึกร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
เนือหาที่เรียน

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (*เรียนรู้การใช้ชีวิตแบบอิสระกับเด็กมากที่สุด) 
  • การสร้างความอิสระ : เด็กจะเรียนรู้จากการเลียนแบบและเด็กทุกคนอยากช่วยเหลือตนเอง
  • ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ : เด็กต้องมีพฤติกรรมดังนี้ การทำอะไรด้วยตนเอง,เชื่อมั่นในตนเอง,เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
  • หัดให้เด็กทำเอง : ผู้ใหญ่หรือครูต้องไม่ช่วยเด็กเกินจำเป็นควรใจแข็งเข้าไว้ แต่ต้องดูสถานการณ์
  • เวลาที่ควรช่วยเหลือเด็ก : ช่วยเฉพาะเวลาที่เด็กขอให้ช่วย
  • ลำดับขั้นการช่วยเหลือ : การย่อยงาน ควรเป็นลำดับขั้น แยกกิจกรรมให้มากที่สุด

การย่อยงานเป็นลำดับขั้น
ตารางทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กอายุ 2-6ปี
    กิจกรรมในชั้นเรียน : วงๆหลากสี(ศิลปะแบบร่วมมือ)
    ผลงานวงกลมหลากสี
    จากต้นไม้ที่แห้งเหี่ยว
    กลับกลายเป็นต้นไม้ที่เต็มไปด้วยสีสันที่แตกต่างและน่าสนใจ
    สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ คือ การแสดงออกทางจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ กล้ามเนื้อมัดเล็ก(นิ้วมือในการลากสี) ด้านคณิตศาสตร์(มิติสัมพันธ์ การลากเส้นต่างๆ) และสมาธิ

    การประยุกต์ใช้ : นำเพลงไปใช้กับเด็กได้ทั้ง 5 เพลงอาจจะใช้เป็นขั้นนำหรือแทรกในหน่วยการเรียนด้านคณิตศาสตร์เรื่องการนับจำนวน เป็นต้น และนำกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
    การประเมินผล :
    • ตนเอง : รู้สึกสนุกกับการเรียนและการทำกิจกรรมในระดับดี และวันนี้มีสถานการณ์บางสถานการณ์ที่ไม่ปลืมนักแต่ก็ต้องจำใจ  แต่วันนี้รับรู้ได้ถึงความอบอุ่นความรักความสนุกที่ท่านอาจารย์มอบให้
    • เพื่อน : ทุกคนสนใจในการเรียนและการทำกิจกรรมโดยเฉพาะกิจกรรมในช่วงต้นที่มีการตอบคำถามจากรูปภาพเพื่อสื่อให้เห็นว่าแต่ละคนีความยับยั้งช่างใจมากน้อยเพียงไร ทำให้ทุกคนรู้จักตนเองมากยิ่งขึ้น
    • อาจารย์ : อาจารย์มีเทคนิคการสอนคือ สอนโดยบรรยายจาก Powerpoint และมีการอธิบายยกตัวอย่างเสริมในบางจังหวะเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจยิ่งขึ้นและในท้ายคาบก็มีกิจกรรมดีๆมาฝึกทักษะสมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการต่างๆ