วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

Week 4

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 12.20-15.50 น.
ความรู้ที่ได้รับ :
กิจกรรม : วาดภาพดอกบัว และบรรยายภาพดอกบัวตามที่เห็น

เนื้อหา :บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
สิ่งที่ครูไม่ควรปฎิบัติ:
  1. ครูไม่ควรวินิจฉัย เพราะจากการแสดงออกของเด็กอาจทำให้เข้าใจผิด เช่น ครูไปบอกผู้ปกครองเด็กว่า น้องเป็นเด็กพิเศษประเภทออทิสติก หากผู้ปกครองพาไปตรวจแล้วน้องไม่ได้เป็นครูอาจจะหมดความน่าเชื่อถือก็ได้
  2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี และจะเป็นตาประทับกับเด็กไปตลอดชีวิต เช่น น้องอ้วน น้องเหยิน อาจทำให้เด็กคนอื่นเรียกตามและส่งผลให้เด็กคนนั้นเสียใจได้
  3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ เพราะพ่อแม่เด็กมักทราบดีว่าลูกเขามีปัญหา

สิ่งที่ครูต้องปฎิบัติ :
  1. ชี้ให้เห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมและพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก
  2. ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
  3. สังเกตเด็กอย่างมีระบบ 
  4. จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
การบันทึกการสังเกต มี 3 รูปแบบ :
  1. การนับอย่างง่ายๆ คือการนับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  2. การบันทึกต่อเนื่อง จะให้รายละเอียดได้มาก เขียนทุกอย่างเกี่ยวกับเด็กในช่วงกิจกรรมหนึ่ง
  3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง จะบันทึกลงบัตรเล็กๆ เน้นความรวดเร็ว
เพลงสำหรับเด็กเรียนรวม 5 เพลง
บรรยายกาศในชั้นเรียน
การประยุกต์ใช้ :  
  • หลังจากที่ได้เรียนเนื้อหาและทำกิจกรรมในวันนี้อย่างแรกที่จะนำไปประยุกต์ใช้ คือ ในขั้นนำหรือการเริ่มการเรียนการสอนเนื้อหาควรหากิจกรรมหรือสิ่งที่เร้าความสนใจผู้เรียนเพื่อให้เกิดการอยากเรียนรู้และสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ลำดับถัดมาด้านเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทครูในการที่ดิฉันจะไปเป็นครูในอนาคตต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ครูเพื่อจะนำไปประพฤติปฎิบัติในการสอนในชั้นเรียนเด็กเรียนรวม และสุดท้ายคือเรื่องของเพลงการฝึกร้องเพลงถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะเพลงถือเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของครูอนุบาลใช้ในการเก็บเด็ก หรืออีกมากมายปรับตามความเหมาะสม เพื่่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด
การประเมินผล:
  • ตนเอง:
  1. เข้าเรียนตรงเวลา เพื่อช่วยกันจัดโต๊ะเรียนเป็นครึ่งวงกลม และแต่งกายถูกระเบียบตามกฎของห้องเรียน
  2. ทำกิจกรรมด้วยความสนใจ อีกทั้งร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ความร่วมมือในชั้นเรียน และร่วมตอบคำถามได้บางบ้างครั้ง (วันนี้รู้สึกไม่สบาย) ที่สำคัญคือการเป็นผู้ฟังที่ดีขณะอาจารย์สอน
  3. ในเรื่องการร้องเพลงอาทิตย์นี้ท่านอาจารย์นำเพลงมาใหม่อาจยังร้องไม่ค่อยเข้าจังหวะแต่ก็จะตั้งใจฝึกซ้อมค่ะ
  • เพื่อน 
  1.  เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลามีการมาเตรียมความพร้อมโดยการมานั่งรอก่อนเวลาเรียน  
  2. ทุกคนสนใจในการเรียนในวันนี้ดี เนื้อหาน้องกิจกรรมเยอะ จึงส่งผลให้ทุกคนเกิดความสุขกับการเรียนซึ่งดูจากสีหน้าของเพื่อนได้ และบรรยายกาศในชั้นเรียนเต็มไปด้วยความสนุกเฮฮา และชื่นชมเพื่อนคนที่ร้องเพลงเก่งมีนำเสียงไพเราะเข้าจังหวะในชั้นมีหลายคนด้วยกัน
  • อาจารย์ : มีเทคนิคการสอน พร้อมคำแนะนำดังนี้
  1. ใช้ PowerPoint เป็นสื่อประกอบการสอนและ มีเทคนิคการสอนโดยการบรรยาย
  2. อาจารย์ให้คำแนะนำและเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทครูและเทคนิคการดูแลเด็กเรียนรวมโดย ก่อนอื่นครูต้องปรับทัศนคติตัวเองก่อนที่จะไปสอนเด็ก และครูต้องคำนึงไว้เสมอว่า เด็กทุกคนสามารถทำได้  ส่วนในเรื่องการประเมินหรือบันทึกพฤติกรรมเด็กครูไม่ควรใช้อารมณ์ส่วนตัวแต่ควรประเมินตามสภาพจริง
  3. ในท้ายคาบมีกิจกรรมPost-Test เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจ

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

Week 3

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 12.20-15.50 น.
ความรู้ที่ได้รับ :
เนื้อหา : รูปแบบการจัดการศึกษา ดังนี้
  1. การศึกษาปกติทั่วไป Regular Education
  2. การศึกษาพิเศษ Special Education
  3. การศึกษาแบบเรียนร่วม Integrated Education/Mainstreaming                                     3.1 การเรียมร่วมบางเวลา : จัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติบางเวลา(มีความพิการระดับกลางถึงระดับมาก)                                                                                  3.2 การเรียนร่วมเต็มเวลา : เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลา(มีความพิการระดับน้อย)
  4. การศึกษาแบบเรียนรวม Inclusive Education คือ การศึกษาสำหรับทุกคน รับเด็กเข้ามาตั้งแต่เริ่มรับการศึกษา และจะใให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  • "Inclusive Education is Education for all,It involves  receiving people at the beginning of their education, with provision of additional services need ed by each individual"
  • การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคนเริ่มตั้งแต่ปฐมวัย แต่ละคนต้องได้รับการช่วยเหลือที่แตกต่างกันไปตามความต้องการของแต่ละบุคคล
กิจกรรม : Post-Test
การประยุกต์ใช้ :  
  • หลังจากที่เรียนเนื้อหาทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษาแบบต่างๆทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษามากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะวิธีการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมและการศึกษาแบบเรียนรวม เราต้องคำนึงว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ตมความเหมาะสม เพราะฉนั้นในอนาคตความที่ดิฉันจะไปเป็นครู ดิฉันจะเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนให้เขาได้รับการศึกษาที่ถูกต้องและเหมาะสม
การประเมินผล:
  • ตนเอง: หลังจากเรียนในวันนี้ 95% รายละเอียดดังนี้ 
  1. มาเรียนก่อนเวลาเพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าเรียน และช่วยเพื่อนจัดโต๊ะรออาจารย์
  2. แต่งกายถูกระเบียบ
  3. ร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ความร่วมมือในชั้นเรียน และร่วมตอบคำถามได้บางบ้างครั้ง
  4. เป็นผู้ฟังที่ดีขณะอาจารย์สอน(รู้สึกง่วงเล็กน้อย อาจเป็นผลมาจากการเรียนวันนี้เป็นการบรรยาย)
  5. การร้องเพลงดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับอาทิตย์ก่อน
  • เพื่อน 
  1.  เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลามีการมาเตรียมความพร้อมโดยการมานั่งรอก่อนเวลาเรียน  ส่วนน้อยที่เข้าหลังอาจารย์
  2. วันนี้ทุกคนดูตึงเครียดกับการเรียนคุยน้อยลงตั้งใจฟังอาจารย์มากกว่าอาทิตย์ก่อน
  • อาจารย์ : เข้าสอนช้าเล็กน้อย และมีเทคการสอนดังนี้
  1. ใช้เพลงเพื่อเรียกความสนใจจากนักศึกษา เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายและความพร้อมในการเรียน
  2. มีการสอนโดยการบรรยาย อีกทั้งยังให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายเป็นระยะๆ
  3. อาจารย์มีการเตรียมตัวในการสอนมาเป็นอย่างดี ช่วยไขทุกข้อสงสัยของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี
  4. ในท้ายคาบมีกิจกรรมPost-Test เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจในวันนี้

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

Week 2

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 12.20-15.50 น.
ความรู้ที่ได้รับ:
  • อาจารย์เล่าประสบการณ์จากการไปเป็นจิตอาสาที่ จังหวัดบุรีรัมย์กับรุ่นพี่ปี 4
  • อาจารย์เฉลยแนวข้อสอบ Final ของเทอมที่แล้วรายวิชา Child care of Early Childhood with Special Need.
  • อาจารย์แจกแจงเรื่องคะแนนดังนี้
  1. คะแนน Blogger 30 % 
  2. คะแนนจิตพิสัย 20 %
  3. คะแนนเขียนแผน IEP 10 %
  4. คะแนนกิจกรรมในชั้นเรียน  40 %
  • อาจารย์ทดสอบความรู้ก่อนเรียนโดยมีคำถามดังนี้
  1. เด็กพิเศษมีกี่ประเภทอะไรบ้างดูเพิ่มเติม
  2. ยกตัวอย่างเด็กพิเศษมา 1 ประเภท บอกสาเหตุ อาการ และการดูแลรักษา
  3. รหัสและชื่อรายวิชานี้
  4. ชื่อรายวิชานี้ภาษาอังกฤษ(Inclusive Education) 
  5. ความหมายความสำคัญของรายวิชานี้ดูเพิ่มเติม
กิจกรรมเพลงสำหรับเด็กเรียนรวม 5 เพลง
บรรยากาศในชั้นเรียน
การประยุกต์ใช้ :  
  • วันนี้ได้ฝึกร้องเพลงสามารถนำเพลงข้างต้นไปใช้กับเด็กได้จริง เนื่องจากเด็ชอบการฟังเพลงและเพลงถือเป็นวิธีการสงบหรือเก็บเด็กที่ถือได้ว่าได้ผลดีเลยทีเดียว
  • หลังจากที่ได้ทำการทดสอบก่อนเรียนและได้ฟังการเฉลยข้อสอบทำให้เข้าใจเนื้อหาเกี่ยวกับรายวิชาของเด็กพิเศษและการศึกษาแบบเรียนรวมมากขึ้น สามารถนำข้อมูลเล่านี้ไปศึกษาค้นควว้าเพิ่มเติมอีกเพื่อเป็นแนวทางในการเรียนครั้งถัดไป
การประเมินผล:
  • ตนเอง: หลังจากเรียนในวันนี้ 90% รายละเอียดดังนี้ 
  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายถูกระเบียบ
  3. ร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ความร่วมมือในชั้นเรียน
  4. การร้องเพลงยังไม่คีย์ ต้องฝึกร้องให้น่าสนใจกว่านี้ เพิ่มลูกเล่นเสียงสูง ต่ำเร้าความสนใจผู้ฟัง
  • เพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลามีการมาเตรียมความพร้อมโดยการมานั่งรอก่อนเวลาเรียน และในการทำกิจกรรมทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ยังอาจมีบางคนที่ชอบคุยเวลาอาจารย์สอน แต่พออาจารย์เตือนเพื่อนก็จะให้ความร่วมมือ ถือว่าการเรียนเป็นไปอย่างสนุกสนาน
  • อาจารย์ : แต่งกายสุภาพพูกาจาไพเราะ มีการสอนโดยการบรรยาย แต่วันนี้ท่านอาจารย์รู้สึกเหนื่อยๆเพลียๆไม่ค่อยพร้อม อาจเนื่องมาจากการพารุ้นพี่ไปทำจิตอาสาทีต่างจังหวัด แต่ท่านอาจารย์ก็สามารถคุ้มและให้ความรู้ประสบการณ์กับนักศึกษาได้อย่างเต็มที่และสนุกสนาน
                                                       

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

Week 1

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 12.20-15.50 น.

       วันนี้อาจารย์ได้มีการปฐมนิเทศ แนะนำรายวิชา และบอกเกี่ยวกับแนวการสอนของรายวิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม(Inclusive Education)โดยมีรายละเอียดดังนี้
การมอบหมายงาน
1. ศึกษาค้นคว้า
2. นำเสนองานกลุ่มและงานเดี่ยว
3. เน้นการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
4. การทำแฟ้มสะสมงานทางในBloger

การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

  • จิตพิสัย 20 % เน้นทางด้านคุณธรรมจริยธรรม คือความซื่อสัตย์ สุจริต และเสียสละ,มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม,เคารพสิทธิ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของสาขาวิชา คณะฯ และมหาวิทยาลัย
  • งานเดี่ยว 
  • งานกลุ่ม 
  • Bloger 30 %
ข้อตกลงการเรียนวิชาการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
1. แต่งการสุภาพถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัยและคณะศึกษาศาสตร์
2. รักษามารยาทและวินัยอย่างเคร่งครัด
3. หากเข้าห้องเรียนช้าเกิน 15 นาที ถือว่ามาสาย ถ้ามาสายเกิน 3 ครั้ง ถือว่าขาด 1 ครั้ง
4. ต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80 % ของเวลาเรียนทั้งหมด
5. หากขาดเรียนต้องมีใบลา หากลาป่วยต้องมีใบรับรองแพทย์
6. ส่งงานตรงเวลาทุกครั้ง
7.นั่งครึ่งวงกลม
8.การถอดรองเท้าให้เป็นระเบียบก่อนเข้าเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียน
การประยุกต์ใช้ : หลังจากที่ได้รู้แนวทางในการเรียนจึงทำให้ทราบในเนื้อหาและสามารถนำไปสืบค้นและศึกษาก่อนที่จะไปเรียนในคาบต่อไป เพื่อจะเข้าใจและง่ายต่อการเรียน

การประเมินผล : วันนี้เป็นการเรีิ่มต้นในภาาคเรียนที่ 2/2557 รู้สึกตื่นเต้นและคิดถึงบรรยายกาศในการเรียนคิดถึงอาจารย์ เพิ่อนๆทุกคน รู้สึกประทับใจในการเรียนในคาบแรกและหวังว่าคาบต่อๆไปจะสนุกสนานเช่นนี้ ท่านอาจารย์ก็สอนสนุกโดยการเล่าประสบการณ์ในช่วงปิดเทอม (หรือปีใหม่นะ555)