วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

Week 13

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 12.20-15.50 น.

หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากท่านอาจารย์สระเวลา
ให้นักศึกษาไปเรียนชดเชยรายวิชาศิลปะสร้างสรรค์ 

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

Week 12

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 12.20-15.50 น


หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการสอบเก็บคะแนนทั้งสิ้น 10 คะแนน

           ความรู้สึกในการทำข้อสอบวันนี้ รู้สึกเข้าใจแต่อธิบายเป็นคำพูดไม่ค่อยเป็นเป็นทางการ และสื่อความหมายไม่ค่อยชัดเจนแต่ก็ขอให้อาจารย์เข้าใจและขอให้ตรงกับความคิดของอาจารย์ด้วยค่ะ

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

Week 11

บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 12.20-15.50 น
กิจกรรม :ฝึกร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
เนือหาที่เรียน

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (*เรียนรู้การใช้ชีวิตแบบอิสระกับเด็กมากที่สุด) 
  • การสร้างความอิสระ : เด็กจะเรียนรู้จากการเลียนแบบและเด็กทุกคนอยากช่วยเหลือตนเอง
  • ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ : เด็กต้องมีพฤติกรรมดังนี้ การทำอะไรด้วยตนเอง,เชื่อมั่นในตนเอง,เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
  • หัดให้เด็กทำเอง : ผู้ใหญ่หรือครูต้องไม่ช่วยเด็กเกินจำเป็นควรใจแข็งเข้าไว้ แต่ต้องดูสถานการณ์
  • เวลาที่ควรช่วยเหลือเด็ก : ช่วยเฉพาะเวลาที่เด็กขอให้ช่วย
  • ลำดับขั้นการช่วยเหลือ : การย่อยงาน ควรเป็นลำดับขั้น แยกกิจกรรมให้มากที่สุด

การย่อยงานเป็นลำดับขั้น
ตารางทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กอายุ 2-6ปี
    กิจกรรมในชั้นเรียน : วงๆหลากสี(ศิลปะแบบร่วมมือ)
    ผลงานวงกลมหลากสี
    จากต้นไม้ที่แห้งเหี่ยว
    กลับกลายเป็นต้นไม้ที่เต็มไปด้วยสีสันที่แตกต่างและน่าสนใจ
    สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ คือ การแสดงออกทางจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ กล้ามเนื้อมัดเล็ก(นิ้วมือในการลากสี) ด้านคณิตศาสตร์(มิติสัมพันธ์ การลากเส้นต่างๆ) และสมาธิ

    การประยุกต์ใช้ : นำเพลงไปใช้กับเด็กได้ทั้ง 5 เพลงอาจจะใช้เป็นขั้นนำหรือแทรกในหน่วยการเรียนด้านคณิตศาสตร์เรื่องการนับจำนวน เป็นต้น และนำกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
    การประเมินผล :
    • ตนเอง : รู้สึกสนุกกับการเรียนและการทำกิจกรรมในระดับดี และวันนี้มีสถานการณ์บางสถานการณ์ที่ไม่ปลืมนักแต่ก็ต้องจำใจ  แต่วันนี้รับรู้ได้ถึงความอบอุ่นความรักความสนุกที่ท่านอาจารย์มอบให้
    • เพื่อน : ทุกคนสนใจในการเรียนและการทำกิจกรรมโดยเฉพาะกิจกรรมในช่วงต้นที่มีการตอบคำถามจากรูปภาพเพื่อสื่อให้เห็นว่าแต่ละคนีความยับยั้งช่างใจมากน้อยเพียงไร ทำให้ทุกคนรู้จักตนเองมากยิ่งขึ้น
    • อาจารย์ : อาจารย์มีเทคนิคการสอนคือ สอนโดยบรรยายจาก Powerpoint และมีการอธิบายยกตัวอย่างเสริมในบางจังหวะเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจยิ่งขึ้นและในท้ายคาบก็มีกิจกรรมดีๆมาฝึกทักษะสมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการต่างๆ

    วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

    Week 10

    บันทึกอนุทิน
    Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
    วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558
    ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 12.20-15.50 น
    ตัวอย่างกิจกรรมบำบัดเด็กด้วย ดนตรีและจังหวะ
    เนื้อหาที่เรียน 
    ทักษะทางภาษา     
         การวัดความสามารถทางภาษา : สิ่งที่เด็กต้องทำได้ เช่น  เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด ตอบสนองเมื่อมีคนพูด ถามหาสิ่งต่างๆ บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้ และใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นได้
         การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด : โดยเฉพาะเด็กพิเศษประเภท LD เช่น การพูดตกหล่น (ลูกโป่ง เด็กจะออกเสียงแค่คำว่า โป่ง) การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง (กิน เป็น จิน) และการพูดติดอ่าง
         ทักษะพพื้นฐานทางภาษาของเด็ก : การรับรู้ การแสดงออก และการสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด (เด็กจะได้รับทักษะการรับรู้ก่อนทักษะการแสดงออกต่างๆ)
         การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่ในการส่งเสริมเด็ก :
    • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด 
    • ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด” 
    • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด 
    • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก 
    • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น 
    • ให้เวลาเด็กได้พูด 
    • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น) 
    • เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป) 
    • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน 
    • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า) 
    • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด 
    • ใช้คำถามปลายเปิด
      กิจกรรมในชั้นเรียน : กิจกรรมบำบัด(กิจกรรมคู่)โดยใช้เพลงเป็นสื่อ และให้นักศึกษาวาดเส้นตรงตามจังหวะเพลงโดยมีข้อตกลงว่าห้ามยกมือโดยเด็ดขาดให้ลากไปเลื่อยๆจนจบเพลง หลังจากนั้นให้ระบายสีตรงเส้นตัด
      กลายเป็นเส้นสีที่สวยงาม
      จากกระดาษเปล่าๆ

       

      กลับกลายเป็นศิลปะที่น่าทึ่ง
      และสือความหมายได้หลายแง่มุม
      จากเส้นสีที่สวงามมีการต่อเติม
      การประยุกต์ใช้ : สิ่งที่ได้ในวันนี้หลากหลายอย่างมากทั้งประสบการณืในการสอบบรรจุครู ทั้งความรู้ในการส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา ทั้งตัวอย่างการจัดกิจกรรมในการบำบัดเด็กพิเศษ และที่สำคัญคือกิจกรรมบำบัดด้วยศิลปะ ความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่ได้รับฟังและลงมือปฏิบัติในวันนี้ดิฉันคิดว่าสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในอนาคตการสอนหรือการฝึกสอนในปี 5 เพราะถือเป็นกิจกรรมที่ดีและเด็กทุกคนสามารถลงมือปฏิบัติได้ไม่ใช่เฉพาะเด็กปกติ ดังคำกล่าวที่ว่าเด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
      การประเมินผล :
      • ตนเอง : วันนี้รู้สึกสนุกตั้งแต่เริ่มเรียนเลยค่ะ เนื่องจากอาจารย์มีกิจกรรมมากระตุ้นการเรียนรู้แบบผ่อนคลายอารมณ์ จึงส่งผลให้การเรียนในวันนี้ราบรื่นไปด้วยดี ทั้งด้านเนื้อหา กิจกรรมและประสบการณ์ต่างๆมากมายที่ท่านอาจารย์นำมาแชร์
      • เพื่อน : เพื่อนทุกคนให้ความสนใจและสนุกกับการเรียนเช่นทุกวัน สนุกสนานเฮฮาตลอดการเรียน ไม่เคยเลยที่จะพากันเงียบยกเว้นแต่ช่วงที่อาจารย์ถามไม่ยิ้มก็จะหลบหน้า
      • อาจารย์ : อาจารย์มีกิจกรรมดีๆมาแนะนำนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา อาทิ เช่น เล่าประสบการณ ์ในการสอบบรรจุเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษามีกำลังใจในการอ่านหนังสือ และมีกิจกรรมดีๆเช่นกิจกรรมศิลปะบำบัดโดยมีการพลิกแพลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนโดยเปลี่ยนจากการลากเป็นเส้นโค้ง มาเป็นเส้นตรงและเปลี่ยนจากจินตนาการให้เป็นภาพมาเป็นระบายสีตามช่องต่างๆ ถือเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆที่เหมาะสมกับครูปฐมวัยเป็นอย่างยิ่งค่ะ

      วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

      Week 9

      บันทึกอนุทิน
      Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
      วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558
      ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 12.20-15.50 น
       
      กิจกรรมที่ 1 :รถไฟเหาะแห่งชีวิต
               เป็นแบบทดสอบจิตวิทยาของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอาจารย์นำมาทดสอบทัศนคติขอองนักศึกษาว่าเป็นคนเช่นไร กิจกรรมนี้ถือเป็นกิจกรรมที่สนุกและเรียกความอาได้เป็นอย่างดี ทำให้นักศึกษามีชีวิตชีวาในการเรียนรู้
      กิจกรรมที่ 2 : กิจกรรมบำบัดเส้นและจุด
               กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ใช้เสียงเพลงและศิลปะในการบำบัดเด็กพิเศษโดยการที่ให้เด็กพิเศษจับคู่กับเด็กปกติโดยในการทำกิจกรรมจะให้เด็กคนที่ 1 เป็นคนจุดสีไปเลื่อยๆ ส่วนเด็กคนที่ 2 จะลากเส้นไปเลื่อยๆตามเลียงและจังหวะของดนตรีที่ครูเปิดโดยจะห้ามยกมือขึ้นเด็ดขาดจนกว่าเพลงจะจบ จากนั้นกลังจบเพลงให้ทั้ง 2 คนช่วยกันคิดว่า ภาพที่เราช่วยกันสร้างสรรค์ออกมานั้นเป็นภาพอะไรได้บ้าง โดยของฉันกับเพื่อนได้ว่าออกมาเป็นภาพมังกรยักษ์
               ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมนี้ เป็นการฝึกสมาธิ ฝึกทักษะทางสังคม ให้เด็กทุกคนได้ปลอดปล่อยอารมณ์ไปตามเสียงเพลง และฝึกการสังเกต จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ต่างๆของเด็กได้เป็นอย่างดี

      กิจกรรมที่ 3 ฝึกร้องเพลง

      เนื้อหาที่เรียน
      ทักษะทางสังคม เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่ และการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

      1.กิจกรรมการเล่น 
      •การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม 
      •เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ 
      •ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

      2.ยุทธศาสตร์การสอน
      •เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
      •ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
      •จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
      •ครูจดบันทึก
      •ทำแผน IEP
      3.การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
      •วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง 
      •คำนึงถึงเด็กทุกๆคน 
      •ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน 
      •เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ 
      4.หน้าที่ครูที่ควรปฎิบัติ
      •อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ 
      •ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู 
      •ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป 
      •เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น 
      •ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
      การประยุกต์ใช้ ; หลังจากที่ได้เรียนและร่วมทำกิจกรรมที่หลากหลายในวันนี้ทำให้ได้แนวคิด เทคนิคและประสบการณ์ที่หลากหลายจากอาจารย์ เช่นเวลาเราสอนหรือทำกิจกรรมอะไรกับเด็กก็ตามไม่ควรที่จะหันหลังให้เด็กโดยเฉพาะเด็กพิเศษ
      การประเมินผล :
      • ตนเอง : วันนี้รู้สึกสนุกกับการเรียนการสอนมากเพราะอาจารย์มีกิจกรรมที่หลากหลายและน่าสนใจ และส่วนที่เป็นเนื้อหาไม่มากเกินไปทำให้การเรียนในวันนี้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว
      • เพื่อน : เพื่อนๆทุกคนให้ความสนใจในการเรียนแต่อยู่ในระดับดีโดยเฉพาะกิจกรรมรถไฟเหาะ ทุกคนรู้สึกตั้งใจมาก ส่วนตอนเรียนเนื้อหาทุกคนเงียบเป็นช่วงๆ แต่ถือว่าการเรียนในวันนี้บรรลุจุดมุ่งหมายของอาจารย์นะค่ะ
      • อาจารย์ : อาจารย์มีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาจารย์เข้าใจบริบทในการเรียนของนักศึกษาจุงมีวิธีการมาจัดให้นักศึกษารู้สึกอยากเรียนในวันนี้ และที่สำคัญอาจารย์มีเทคนนิคกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนที่แปลกใหม่ สามารถสื่อสารให้นักศึกษาเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างง่ายดายโดยนำตัวอย่างประสบการณ์จากชีวิตประจำวันมาเป็นต้นแบบ