บันทึกอนุทิน
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 12.20-15.50 น
เนื้อหาที่เรียน
ทักษะทางภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา : สิ่งที่เด็กต้องทำได้ เช่น เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด ตอบสนองเมื่อมีคนพูด ถามหาสิ่งต่างๆ บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้ และใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นได้
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด : โดยเฉพาะเด็กพิเศษประเภท LD เช่น การพูดตกหล่น (ลูกโป่ง เด็กจะออกเสียงแค่คำว่า โป่ง) การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง (กิน เป็น จิน) และการพูดติดอ่าง ทักษะพพื้นฐานทางภาษาของเด็ก : การรับรู้ การแสดงออก และการสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด (เด็กจะได้รับทักษะการรับรู้ก่อนทักษะการแสดงออกต่างๆ)
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่ในการส่งเสริมเด็ก :
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
กิจกรรมในชั้นเรียน : กิจกรรมบำบัด(กิจกรรมคู่)โดยใช้เพลงเป็นสื่อ และให้นักศึกษาวาดเส้นตรงตามจังหวะเพลงโดยมีข้อตกลงว่าห้ามยกมือโดยเด็ดขาดให้ลากไปเลื่อยๆจนจบเพลง หลังจากนั้นให้ระบายสีตรงเส้นตัด
กลายเป็นเส้นสีที่สวยงาม |
จากกระดาษเปล่าๆ |
กลับกลายเป็นศิลปะที่น่าทึ่ง และสือความหมายได้หลายแง่มุม |
จากเส้นสีที่สวงามมีการต่อเติม |
การประยุกต์ใช้ : สิ่งที่ได้ในวันนี้หลากหลายอย่างมากทั้งประสบการณืในการสอบบรรจุครู ทั้งความรู้ในการส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา ทั้งตัวอย่างการจัดกิจกรรมในการบำบัดเด็กพิเศษ และที่สำคัญคือกิจกรรมบำบัดด้วยศิลปะ ความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่ได้รับฟังและลงมือปฏิบัติในวันนี้ดิฉันคิดว่าสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในอนาคตการสอนหรือการฝึกสอนในปี 5 เพราะถือเป็นกิจกรรมที่ดีและเด็กทุกคนสามารถลงมือปฏิบัติได้ไม่ใช่เฉพาะเด็กปกติ ดังคำกล่าวที่ว่าเด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การประเมินผล :
- ตนเอง : วันนี้รู้สึกสนุกตั้งแต่เริ่มเรียนเลยค่ะ เนื่องจากอาจารย์มีกิจกรรมมากระตุ้นการเรียนรู้แบบผ่อนคลายอารมณ์ จึงส่งผลให้การเรียนในวันนี้ราบรื่นไปด้วยดี ทั้งด้านเนื้อหา กิจกรรมและประสบการณ์ต่างๆมากมายที่ท่านอาจารย์นำมาแชร์
- เพื่อน : เพื่อนทุกคนให้ความสนใจและสนุกกับการเรียนเช่นทุกวัน สนุกสนานเฮฮาตลอดการเรียน ไม่เคยเลยที่จะพากันเงียบยกเว้นแต่ช่วงที่อาจารย์ถามไม่ยิ้มก็จะหลบหน้า
- อาจารย์ : อาจารย์มีกิจกรรมดีๆมาแนะนำนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา อาทิ เช่น เล่าประสบการณ ์ในการสอบบรรจุเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษามีกำลังใจในการอ่านหนังสือ และมีกิจกรรมดีๆเช่นกิจกรรมศิลปะบำบัดโดยมีการพลิกแพลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนโดยเปลี่ยนจากการลากเป็นเส้นโค้ง มาเป็นเส้นตรงและเปลี่ยนจากจินตนาการให้เป็นภาพมาเป็นระบายสีตามช่องต่างๆ ถือเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆที่เหมาะสมกับครูปฐมวัยเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น